ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
บ้านปะอาวมีเชื้อชาติเดิมเป็นลาวแท้ ๆ (ลาวเวียงจันทร์) สมัยนั้น ที่นครเวียงจันทร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาวได้เกิดกบฏขึ้นกลางเมือง มีกองทัพกลุ่มหนึ่งพากันอพยพหนีข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งไทย โดยตั้งถิ่นอาศัยอยู่ที่หนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) ผู้นำกองทัพของชนกลุ่มนั้นมี 2 คน เรียกกันว่า “พระวอพระตา” แต่ก็มีกองทัพข้าศึกติดตามมาจึงถูกข้าศึกฆ่าตายที่หนองบัวลำภูนั่นเอง คงเหลือแต่พระวอได้พาไพร่พลอพยพเลาะเลียบฝั่งแม่น้ำโขงลงมา แล้วพากันข้ามไปประเทศลาวอีกครั้ง
แต่ก็ยังถูกรุกรานทางการเมืองอยู่ จึงพากันหนีข้ามมายังฝั่งไทยอีกครั้ง เลาะเลียบฝั่งโขงลงมาถึงดอนมดแดง ติดฝั่งแม่น้ำมูล พระวอพร้อมด้วยลูก ๆ ของพระตาและหมู่พสกนิกร จึงพากันปลูกหลักปักฐานเป็นเมืองอุบลราชธานีจนถึงทุกวันนี้ ท่านขุนน้อยขุนใหญ่และไพร่พลต่างก็แยกย้ายพากันหาที่ทำเลที่เหมาะสม แล้วตั้งเป็นหมู่บ้านตามความพอใจ
ในครั้งแรกนั้น อำเภอเดชอุดม ตั้งที่ว่าอำเภอเดชอุดม อยู่หมู่ที่ 1 บ้านเมืองเก่า เป็นเมือง และอำเภอ มาหลายปี ปรากฏว่าลำน้ำโดมไหลหลากมาจากทางเหนือ ทำให้เกิดฝนตกน้ำท่วม นายอำเภอเดชอุดม จึงได้ปรึกษาหารือกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทั้งหมด ให้ความเห็และยังมีพี่น้อง (ชาย) 2 คน พาหมู่ญาติมาถึงทำเลที่เหมาะ คือ ทางทิศเหนือมีหนองบัวใหญ่ ทิศใต้มีหนองบัวน้อย จึงพากันตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็น “บ้านปะอาว” จนถึงทุกวันนี้ ส่วนผู้เป็นพี่ชาย ได้พาญาติอีกกลุ่มหนึ่งอพยพขึ้นไปทางทิศเหนือพบที่เหมาะจึงตั้งหมู่บ้านขึ้น เป็นบ้านโพนเมือง ต.หนองเหล่า อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี คำว่า “ปะอาว” เพี้ยนมาจากคำว่า “ป๋าอาว” และคำว่า “ป๋า” หมายถึงละทิ้ง ทิ้งไว้ ส่วนคำว่า “อาว” หมายถึง อา และคำว่า “อา” หมายถึง กลุ่มญาติทางผู้พี่เรียกญาติทางผู้น้องชายก็ได้ ความหมายในที่นี้ว่า คำว่า “ปะอาว” ก็คือ ผู้พี่ชายละทิ้งผู้น้องชาย คือ ป๋าอาวเทียบได้กับภาษาอีสานหลายคำ เช่น ป๋าลูก ป๋าเมีย ป๋าเฮือน แต่เพี้ยนมาเป็น “ปะอาว” ทั้งบ้านปะอาว และบ้านโพนเมือง จึงมีความผูกพันนับถือเป็นบ้านพี่น้องกัน
ภูมิประเทศที่ตั้งหมู่บ้าน มีหลายสิ่งเหมือนกัน เช่น มีวัดสองวัดที่เหมือนกัน คือชื่อวัดเรียบและวัดบูรพาเหมือนกัน และมีหนองบึงเหมือนกัน สำเนียงภาษาที่พูดออกมาก็เหมือนกัน และสิ่งที่ผูกพันกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใคร ๆ ไม่กล้าล่วงล้ำเกินโดยประการทั้งปวง คือ เจ้าปู่ตา ที่เป็นหลักบ้านหลักเมืองและมีประเพณีที่พี่และน้องต้องพบกันปีละครั้งนั้น คือ ประเพณีบุญบั้งไฟจะต้องนำบั้งไฟถวยหรือ ไปบ๋าเจ้าปู่ตาร่วมกันเป็นประจำทุกปี (คำว่า ถวย คือ ถว่าย คำว่า บ๋า คือ บวงสรวงเซ่นไหว้) เพื่อแสดงความเป็นพี่น้องที่เคารพนับถือกันอย่างแน่นแฟ้นและเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขและเป็นการบวงสรวงขอฟ้าขอฝนให้ถูกต้องตามฤดูกาลเพื่อการทำเกษตรกรรมต่อไป
https://www.pa-ao.go.th/about-us/history#sigProGalleria22a1411ca1